ออกจาก Comfort Zone ด้วย Hero’s Journey
อยากออกจาก Comfort Zone แต่ไม่รู้จะทำยังไง ลองเดินตามเส้นทางของฮีโร่ดูสิ
เรื่องมันเริ่มมาจาก มีน้องส่ง podcast ของ THE STANDARD เรื่อง Hero’s Journey มาให้ฟัง
เนื้อหา podcast ก็รีวิวเกี่ยวกับหนังสือที่เกี่ยวกับการเล่าประสบการณ์การเดินทางนี่แหละ คุณโจกับคุณเน็ต เจ้าของ podcast เล่าว่า
“ทุกคนมีเรื่องเล่า แต่ไม่ใช่ทุกการเล่าเรื่องน่าติดตาม”
ทีนี้จะเล่ายังไงให้น่าฟังหล่ะ คุณโจกับคุณเน็ตเลยยก framework อันหนึ่งขึ้นมาซึ่งนั่นก็คือ Hero’s Journey นี่แหละ ที่จะช่วยให้เรื่องเล่าของเราน่าติดตาม ซึ่งถ้าเราถอดบทหนัง Hollywood ออกมาก็จะเจอ plot ตาม framework ข้างล่างนี้เลย
ใน podcast นอกจากจะยกตัวอย่างจากหนังสือ 2 เล่มตามปกแล้ว ยังมีเสริมจากหนังดังหลายเรื่อง เช่น Harry Potter, The Matrix, The Lord of the Rings ด้วย ลองไปฟังกัน สนุกดี
อะไร คือ Hero’s Journey?
ขอยกจาก Wikipedia มาตอบเลยนะ
Hero’s Journey is the common template of stories that involve a hero who goes on an adventure, is victorious in a decisive crisis and comes home changed or transformed.
โดย Hero’s Journey แบ่งเป็น 3 องค์ มีทั้งหมด 12 Steps ประกอบด้วย
- Departure
Step 1 Ordinary world
Step 2 Call to adventure
Step 3 Refusal of the call
Step 4 Meeting with the mentor
Step 5 Crossing the first threshold - Initiation
Step 6 Tests, allies and enemies
Step 7 Approach to the inmost cave
Step 8 The ordeal
Step 9 Reward - Return
Step 10 The road back
Step 11 The resurrection
Step 12 Return with the elixir
ถ้าไล่ตาม plot หนังที่พูดถึงข้างบน ก็น่าจะเห็นภาพ แต่ถ้าใครตามไม่ทันหรือนึกไม่ออก ก็ไปฟังใน podcast แล้วจะเข้าใจ
แล้วมันเกี่ยวกับการออกจาก Comfort Zone ยังไงหล่ะ?
จุดสำคัญมันอยู่ที่ประโยคสุดท้ายที่เขียนไว้ว่า “comes home changed or transformed”
เรารู้ว่า Hero (หรือพระเอกของเรื่อง) ก็เดินตาม plot นี้แหละ เริ่มต้นแบบธรรมดา แล้วสุดท้ายก็ได้ “บางสิ่ง” (อาจจะเป็นของหรือพลังวิเศษ) เพื่อกลับมาชนะผู้ร้าย
ถ้าคุณอยากจะออกจาก Comfort Zone (หรือก็คือเปลี่ยนแปลงตัวเอง) แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง? หรือไม่แน่ใจว่าจะทำดีไหม? หรือยังไม่กล้า?
ลองกลับไปดู Steps ข้างบน แล้วดูว่าเราอยู่ Step ไหน จากนั้นก็พยายามเดินตาม plot เสมือนคุณเป็น “พระเอก” ใช้ Hero’s Journey เป็น guide เพื่อให้เราไปสู่ step ถัดไป เพื่อที่สุดท้ายจะได้ “บางสิ่ง” (ซึ่งในที่นี้ คือ สิ่งที่เราอยากเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตัวเอง)
ยกตัวอย่าง เช่น เรารู้ว่าเราพูดไม่เก่ง และอยากจะพัฒนาด้านนี้ แต่ยังรู้สึกว่า มันยากเกินไป เราทำไม่ได้หรอก นั่นแปลว่า เราอยู่ Step 3 (Refusal of the call) สิ่งที่เราควรทำคือ มองหา mentor (ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อน เจ้านาย หรืออาจจะเป็น post จาก Facebook หรือ Twitter ก็ได้) เพื่อให้เราสามารถไปสู่ Step 4 (Meeting with the mentor) ได้
สุดท้าย แม้ในชีวิตจริง เราจะใช้ Hero’s Journey เป็นสูตรสำเร็จไม่ได้เหมือนในการทำหนัง แต่อย่างน้อยเราก็น่าจะใช้เป็นแนวทางเพื่อให้เราฝ่าฟันไปข้างหน้าได้ในวันที่ไม่รู้จะเดินไปทางไหน